Banner

ภาษาไทลื้อ หรือ ภาษาลื้อ (ไทลื้อ : lg-tlกวามไต, จีน : 傣仂语 Dǎilèyǔ, เวียดนาม : Lự or Lữ) อยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได และมีคำศัพท์และการเรียงคำศัพท์คล้ายกับภาษาไทยถิ่นอื่นๆ ผู้พูดภาษาไทลื้อ เรียกว่า ชาวไทลื้อ หรือ ชาวลื้อ ภาษาไทลื้อมีผู้พูดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 670,000 คน โดยมีจำนวนผู้พูดในประเทศจีน 250,000 คน ในประเทศพม่า 200,000 คน ในประเทศไทย 134,000 คน และในประเทศเวียดนาม 5,000 คน (วิกิพีเดีย)


คนไทลื้อมีภาษาพูดและตัวอักขระหรือตัวเขียนใช้เองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของไทลื้อเหมือนกับคนไทยอื่นที่มีภาษาของตัวเอง เช่น ไทยคำตี่ในประเทศอินเดีย ไทยใหญ่ หรือไทยเขินในสหภาพพม่า ไทยดำ ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทยขาวในประเทศเวียดนาม ไทยตังเกี๋ยในสาธารณรัฐประชาชนจีน ไทยโยนก ไทยยวน หรือไทยล้านนาในประเทศไทย
ภาษาลื้อ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลไท(ไต) เพราะภาษาทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันมาทั้งเสียงพยัญชนะเสียงสระคำศัพท์พื้น ฐานร่วมกันและการเรียงคำเข้าประโยค เป็นต้น
ภาษาพูดไทลื้อน่าสนใจศึกษามาก ลักษณะเด่นของภาษาลื้อคือการเปลี่ยนแปลงเสียงสระภายในคำ โดยการเปลี่ยนระดับของลิ้น เช่นคำในภาษาไทยหรือภาษาล้านนามีเสียงสระเอ เออ โอ ตรงกับคำในภาษาลื้อที่มีเสียงสระอิ อึ อุ
ตัวอย่าง
ภาษาไทย ภาษาล้านนา ภาษาลื้อ
คน คน กุน
เป็น เป่น ปิ๊น
เงิน เงิน งึน
และภาษาลื้อมีเสียงสระเดี่ยว มีทั้งสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว และภาษาลื้อจะไม่มีสระประสมเลย
ตัวอย่าง
ภาษาไทย ภาษาล้านนา ภาษาลื้อ
เกลือ เกี๋ย เก๊อ
กล้วย ก้วย โก๋ย
เป็นที่น่าสังเกตว่าภาษาลื้อจะมีหลายคำที่ออกเสียงตรงกับภาษาปักษ์ใต้ ถ้าให้คนลื้อพูดภาษาลื้อกับคนภาคใต้ที่พูดภาษาปักษ์ใต้จะพูดกันพอรู้ เรื่อง(แต่ภาษาปักษ์ใต้พูดเร็วกว่าภาษาไทลื้อ)

 

 

 

ตัวอักขระไทลื้อ

 


อักษรไทลื้อกับไทยวน(ล้านนา)ใช้ร่วมกัน บางครั้งจะสะกดเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกัน โดยเฉพาะเสียงสระ อักษรธรรมที่จารในคัมภีร์จะเป็นอักขระเดียวกัน ดังนี้

 

อักขระ สระ วรรณยุกต์ ตัวเลขของไทลื้อเทียบอักษรไทยกลาง